กระดูกพรุน ดูแลรักษากันได้ง่าย ๆ แค่เลือกรับประทาน
กระดูกพรุน คือ มวลและความหนาแน่นของกระดูกลดลง อาจเกิดจากโครงสร้างของกระดูกถูกทำลาย จนทำให้กระดูกเปราะบาง ส่งผลให้แตกหักได้ง่าย และในบางรายจะมีอาการกระดูกพรุน ผุกร่อนยิ่งจะส่งผลทำให้กระดูกเปราะบางและแตกหักง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งมักเกิด บริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ โดยพบว่าผู้ที่มีอายุ ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปจะเกิดโรคกระดูกพรุนมากที่สุด และจะพบมากในเพศหญิงที่หมดประจำเดือน
สาเหตุของโรคกระดูกพรุน คือ เกิดจากความไม่สมดุลของเซลล์ที่สร้างเนื้อกระดูก และเซลล์ที่ทำลายเนื้อกระดูก ซึ่งโรคกระดูกพรุนจะมีเซลล์ทำลายกระดูกมากกว่าสร้างกระดูก สาเหตุก็เกิดจาก อายุ เพศ น้ำหนัก กรรมพันธุ์ และอาหาร
อาการของโรคกระดูกพรุน คือ
- ความสูงลดลง มีอาการหลังค่อม หรือกระดูกสันส่วนบนโค้ง
- มีอาการปวดหลังเรื้อรัง
- กระดูกแตกหรือหักได้ง่าย
ใครที่จะเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุน
- ผู้สูงอายุ และผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
- ขาดสารอาหารจำพวกวิตามินดี หรือแคลเซียม
- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวมีโรคกระดูกพรุน กรรมพันธุ์ พบว่าอัตราความเสี่ยงพบมากในคน เชื้อสายเอเชีย ( ผิวขาวและผิวขาวเหลือง )
- ผู้ที่ใช้ยากลุ่ม ยาสเตียรอยด์เกินขนาด
- ภาวะที่ร่างกายฮอร์โมนไม่คงที่ เช่น โรคต่อมไทรอยด์
- การดำรงชีวิต การรับประทานอาหาร การดื่มแอลกอฮอร์ สูบบุหรี่ และขาดการออกกำลังกาย
วิธีการป้องกันโรคกระดูกพรุน และเสื่อม
- การเลือกรับประทานอาหาร ที่อุดมไปด้วยแคลเซียม และแร่ธาตุ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- การดื่ม ชา กาแฟ น้ำอัดลม และแอลกอฮอล์
- การใช้ยาประจำโรค กลุ่มยาสเตียรอยด์ ติดต่อกันเป็นเวลานาน
- การไม่ออกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- น้ำหนักตัวเกิน เกินเกณฑ์ที่เหมาะสม
อาหารที่ป้องกันโรคกระดูกพรุน และเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
- แคลเซียม โดยที่แคลเซียมจะทำหน้าที่ สร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน ซึ่งแหล่งอาหารของแคลเซียม ได้แก่ นม โยเกิร์ต ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง
- ธัญพืชต่าง ๆ ได้แก่ งาดำ ซึ่งในงาดำจะอุดมไปด้วยสารอาหารมากมายที่สำคัญ ทั้งแคลเซียมและแร่ธาตุทองแดง กระตุ้นการเกิดคอลลาเจนเพื่อเสริมสร้างเนื้อเยื่อ ข้อต่อ ในร่างกาย เป็นตัวช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้
- วิตามินดี เป็นตัวช่วยในการดูดซึมของแคลเซียมในร่างกายเพื่อให้ร่างกายำได้รับแคลเซียมได้เต็ม ประสิทธิภาพ แหล่งอาหารของวิตามินดี ได้แก่ น้ำมันตับปลาที่มีโอเมก้า3 เช่น ปลาทูน่า และ เห็ด ( สารเออโกสเตียรอล )
- แร่ธาตุต่าง ๆ เทองแดง แมกนีเซียม สังกะสี เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์กลไกการสร้าง เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก แหล่งอาหาร ได้แก่ เมล็ดธัญพืช เมล็ดถั่ว หลากหลายชนิด ผักสีเขียว รวมไปทั้ง สาหร่ายทะเล ซึงอาหารเหล่านี้มีผลต่อความแข็งแรงของกระดูกโดยการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง
ปริมาณการรับประทานแคลเซียมในแต่ละวัน ควรได้รับอย่างเพียงพอทุกวันและสะสมไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่วัยเด็ก และ สะสมไปเรื่อย ๆ เพื่อโครงร้างกระดูกและร่างกายที่แข็งแรง นอกจาการเลือกรับประทานอาหารแล้วนั้น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และป้องกันการเสื่อมสภาพของกระดูกโดยการลดการสูญเสียของมวลกระดูก ได้แก่ การวิ่งบนลู่วิ่ง การวิ่งแบบเหยาะๆ รวมไปถึง การรำมวยจีน ก็จะทำให้ร่างกายกระดูกของเราแข็งแรงได้อีกด้วย
นอกจากเราจะเลือกรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอแล้วนั้น เราสามารถป้องกันและเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกด้วยการ รับประทานอาหารเสริมที่มีแคลเซียมสูง และเพียงพอของแต่ละวัน นั่นก็คือ DoubleBlue ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ชนิด แคปซูล 2 ชั้น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่คัดสรรสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อกระดูกของเรา เพิ่มการดูดซึมสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการผสมผสานของสารอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารที่ส่งผลแก่การดูแลกระดูกข้อเข่า อาทิเช่น น้ำมันงา อโวคาโด และขมิ้นชัน